วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 บทนำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ

บทที่ 1
บทนำ


1.1 ความเป็นมาและความสำของปัญหา
        ปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะที่มาพร้อมกับการขยายตัวของชุมชน เมือง ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่สำคัญยังสร้างปัญหาให้กับหน่วยงานภาครัฐที่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมากในการกำจัดปัญหาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการเผาทำลาย การนำไปฝังกลบก็ส่งกลิ่นเหม็น ก็ล้วนแต่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทั้งสิ้น หรือความขัดแย้งในสังคมอย่างกรณีการประท้วง ต่อต้าน สถานที่ทิ้งขยะของภาครัฐที่ตั้งใกล้ชุมชน ส่งผลกระทบต่อชุมชน  เมือง ซึ่งกลิ่นก่อให้เกิดความรำคาญต่อประชาชนและผู้ที่เดินทางผ่านไปมาแถวนั้น ดังนั้นสถานที่ที่เป็น ชุมชน เมืองต่างๆ ก็ควรเป็นสถานที่ที่ควรให้ความสำคัญในการดูแลรักษาความสะอาดเป็นลำดับต้นๆ เพราะเป็นสถานที่ที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาประเทศ ทั้งด้านการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียน สถานที่ทำงานของข้าราชการในสำนักงาน เช่น  การรักษาความสะอาดอย่างถูกสุขลักษณะ การจำกัดเรื่องขยะมูลฝอย การจัดการกับปัญหาเหล่านี้ควรจะมีอย่างจิงจัง โดยวิธีการแก้ปัญหา ด้วยวิธีเทคโนโลยีปุ๋ยหมักชีวภาพ(Em) ซึ่งเป็นภูมิปัญญาคนไทยที่นำเอาเศษอาหาร เช่น เปลือกผมไม้ สับปะรด แตงโม ทุเรียน นำมาหมักไว้ในภาชนะสักระยะหนึ่ง แล้วสามารถนำไปใช้ในด้านการดูแลพืชผลทางการเกษตร ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการกำจัด ลด ปริมาณเศษอาหารหรือขยะ  ตามชุมชน เมือง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จากการแปลรูปของขยะต่างๆ มาใช้ในการดูแลรักษาพืชผัก ผลไม้ทางการเกษตร เป็นแร่ธาตุให้แก่ต้นไม้  ลดการใช้ปุ๋ยเคมีแทนปุ๋มหมักหมักชีวภาพ เพราะปุ๋มเคมีเมื่อมาใช้การเกษตร จะมีอันตรายทั้งโดยตรงและโดยออ้อมต่อผู้บริโภคพืชผักที่ใช้ปุ๋ยเคมีไป และเป็นรายได้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง ซึ่งการกำจัดเศษขยะโดยนำมาแปลรูปเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพในการใช้ทางการเกษตรแล้ว ยังจะเป็นการกำจัดปริมาณขยะที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดเหมาะกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การทำปุ๋ยหมักใช้เองในครัวเรือน อีกทั้งยังเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้แก่เกษตรกร ซึ่งวัตถุดิบในการผลิตก็หาไดง่ายมีต้นทุนต่ำ และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัย อีกทั้งช่วยกำจัดปริมาณขยะตามชุมชน เมือง สถานที่ต่างๆได้อีกด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น