วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


2.1 หลักการและทฤษฎี
           “ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นเพื่อ ช่วยแก้ปัญหาและการกำจัดปริมาณขยะอย่างถูกต้อง เกิดประโยชน์ และเป็นแก้ปัญหาส่วนหนึ่งของการกำจักขยะที่เหมาะสมกับคนไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศทางการเกษตรกรรม จึงสามารถนำปุ๋มหมักมาใช้ในด้านการเกษตรได้ดี ด้วยการใช้ดูแล บำรุง รักษา  ปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ช่วยให้พืชผล ทางการเกษตร มีผลผลิตมากขึ้น และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานจากการนำขยะมาแปรรูปและทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีจำนวนมาก จึงเหมาะไม่มากก็น้อยสำหรับทางเลือกนี้ และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันได้อีกด้วย

2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อ
           “ ปุ๋ยชีวภาพ” (Bio-fertilizer) นั้นเป็นคำศัพท์ทางด้านปุ๋ยที่ใช้กันทั่วๆ ไปในหลักวิชาการปุ๋ยสากล โดยได้มีการบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า biological fertilizer ซึ่งเป็นการนำคำว่า ปุ๋ย” (fertilizer) หมายถึง ธาตุอาหารพืช กับคำว่า ชีวภาพ” (Biological) หมายถึง สิ่งที่มีชีวิต มาสมาสกัน ดังนั้นเจตนาที่บัญญัติคำนี้ จึงให้หมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชหรือเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์ตามคำจำกัดความนี้จะเห็นได้ว่าไม่ใช้จุลินทรีย์ทุกชนิดจะใช้ผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ แต่ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถสร้างธาตุอาหารขึ้นทางชีวภาพแล้วแบ่งให้พืชใช้ได้หรือมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะเจาะจงในการสร้างสารบางอย่างออกมา มีผลทำให้ช่วยเพิ่มปริมาณรูปที่เป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารหลักที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น