วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

- อภิปราย,ข้อเสนอแนะ

อภิปราย

            จากการที่คณะผู้จัดทำโครงงานนี้ ได้จัดทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ(Em)ซึ่งได้นำเอาเศษขยะ ใบไม้ เปลือกผลไม้ จากการเหลือใช้ตาม ครัวเรือน ชุมชน และกองขยะมาหมักรวมกันเป็นปุ๋ยชีวภาพที่มีจุลินทรีย์ที่เป็นต้องการของพืช ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จากนำเศษขยะมาหมักรวมกันก็กลายเป็นปุ๋ยที่สามารถนำไปใช้ในการเกษตรได้ ใช้ปรับสภาพหน้าดินก่อนการเพาะปลูก ใช้บำรุงต้นไม้และพืชผลการเกษตร ผลที่ได้คือพืชเจริญงอกงามและแข็งแรง มีใบ ลำต้นที่แข็งแรง ที่มีคุณภาพกับปุ๋ยทั่วไปตามท้องตลาด


ข้อเสนอแนะ

         1.  ควรมีความเข้าใจ ความรู้ที่ดี ในการจัดทำปุ๋ยหมัก เพราะจะได้ปุ๋ยที่ดีก็ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด รอบคอบ และเข้าใจ
            2.  หากรายละเอียดไม่ชัดเจน ก็สามารถหาแหล่งอ้างอิงอื่นได้           
            3. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ ต่อยอด เพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อตนเอง ครัวเรือน และชุมชน ได้เพราะรักษาสภาพแวดล้อมและรู้คุณค่า


บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย

บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย



สรุปผลการวิจัย          
          การวิจัยเรื่อง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ (Em)  จากปริมาณของขยะ ผลการวิจัยสามารถกำจัดปริมาณขยะลงได้  ทำให้ชุมชน เมือง  มีบรรยากาศ ความสะอาด ระเบียบเรียบร้อยดีขึ้น  ส่งผลให้ผู้คนในบริเวณนั้น  มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ที่ดี  ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนการสอนของนักเรียน อารมณ์จิตใจของผู้คนที่ผ่านไปมา อีกทางหนึ่ง  นอกจากนี้จากผลการวิจัย นำปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จากการทำ มาใช้ปรับปรุงคุณภาพดิน ในแปลงเกษตร ผลที่ได้รับดินมีคุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากพืชผักต่างๆ ที่เจริญงอกงาม ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ผลการวิจัยยังจะนำประโยชน์แก่ผูที่สนใจ และนำไปใช้กับครัวเรือนได้อีกด้วย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการดำเนินงาน

            การทำการวิจัย ปุ๋ยหมักชีวภาพ (Em)  จากเศษของขยะ  ผลการวิจัยสามารถกำจัดปริมาณขยะลงได้  ทำให้ชุมชน เมือง  มีบรรยากาศ ความสะอาด ระเบียบเรียบร้อยดีขึ้น  ส่งผลให้ผู้คนในบริเวณนั้น  มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ที่ดี  นอกจากนี้จากผลการวิจัย นำปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จากการทำ มาใช้ปรับปรุงคุณภาพดิน ในแปลงเกษตร ผลที่ได้รับดินมีคุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากพืชผักต่างๆ ที่เจริญงอกงาม ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ผลการวิจัยยังจะนำประโยชน์ ในด้านธุรกิจ การเกษตรเพื่อการค้า เพราะพืชผักที่ได้มา ปลอดสารพิษ และ ปลอดภัยต่อผู้บริโภคสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เหมาะแก่การขนส่งไกลๆ





                                    

- การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล


3.2       การเก็บรวบรวมข้อมูล

            การวิจัยครั้งนี้ได้มีการเก็บรวบรวมโดยความร่วมมือของสมาชิกเพื่อนๆ และผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง ที่ช่วยกันแนะแนวทางให้ และการสำรวจดำเนินตามขั้นตอน ที่ผู้ใหญ่แนะนำมาเพราะเป็นผู้ที่ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณมาก่อนแล้ว และการสาธิตขั้นตอนดำเนินงานที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านจากชาวเกษตรกร


3.3       การวิเคราะห์ข้อมูล

            เมื่อได้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากขั้นตอนการสาธิตผลิตมาแล้ว ก็ได้นำใช้ไปในการเกษตร ในแปลงที่ได้เตรียมพืชผักที่ปลูกไว้ โดยใช้รดน้ำต้นผักต่างๆ ทั้ง ผักบุ้ง คะน้า มะเขือเทศ พริก โดย 4-5 วัน ถึงจะใช้สักครั้ง จากการสังเกตประมาณ 3 สัปดาร์ ผักเริ่มมีการเจริญเติบโตดี ใบและลำต้นแข็งแรง สีเขียว ไม่มีศัตรูพืชรบกวน หน้าดินก็มีสภาพดี ดินร่วนซุย มีสีดำ เป็นธรรมชาติ  

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน

บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
3.1 วิธีการดำเนินงาน

            3.1.1  จุดศึกษา
                        - บ้านท่าปราบ อ.นาโยง  จ.ตรัง
                        - แปลงเกษตร โรงเรียนวิเชียรมาตุ จ.ตรัง
3.1.2  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
                        4.2.1  ถังหรือภาชนะ ( สำหรับหมักปุ๋ยชีวภาพ )
                        4.2.2  เศษอาหาร เช่น เปลือก ผัก ผลไม้  หรือขยะ ( ที่ย่อยสลายได้ )  
4.2.3  สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 สำหรับผลิตปุ๋ยน้ำอินทรีย์น้ำ 50 ลิตร
4.2.4  กากน้ำตาล
4.2.5 สื่อเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป
3.1.3  วิธีดำเนินงาน
                        3.1  ขั้นตอนในการดำเนินงาน
                        3.1.1    ขั้นเตรียมงาน
                                    1) เตรียมอุปกรณ์ต่างๆไว้ให้พร้อม
                                    2) เตรียมเศษอาหารหรือขยะ หรือทรัพยากรวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น
                        3.1.2    ขั้นดำเนินงาน
                                    1) ใส่สารเร่ง พด. และกากน้ำตาลแล้วผสมน้ำ
                                    2) คนให้เข้ากัน
                                    3) นำเศษอาหารเช่น เปลือกผลไม้ เศษผัก ใส่ในภาชนะที่นำมาหมัก
                                    4) คลุกเคล้าให้เข้ากัน
                                    5) ปิดฝาภาชนะ โดย( ไม่ต้องสนิท )
                        3.1.3    ขั้นวิเคราะห์และสรุปผล
                                    1) นำเศษอาหารหรือขยะมาหมักกับใส่สารเร่ง พด. และกากน้ำตาล
                                    2) หมักทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง ( ประมาณ 20 วัน - 1 เดือน )
                                    3) ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่พร้อมนำไปใช้


- การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

           ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการบำรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช



 วัสดุอุปกรณ์
          1. มูลสัตว์แห้งละเอียด  3 ส่วน
          2. แกลบดำ 1 ส่วน
          3. อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว ขุย               มะพร้าวกากปาล์ม เปลือกมัน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
          4. รำละเอียด 1 ส่วน
          5. น้ำสกัดชีวภาพ หรือใช้หัวเชื่อจุลินทรีย์  1 ส่วน
          6. กากน้ำตาล   1 ส่วน
          7. น้ำ 100 ส่วน
          8. บัวรดน้ำ


ขั้นตอนวิธีทำ          

           1. นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเปนชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

        2. ผสมเอาส่วนของน้ำสัดชีวภาพกับน้ำตาลและน้ำคนจนละลายเข้ากันดี ใส่บัวราดบนกลองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันจนทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นหรือแห้งจนเกินไป(ประมาณ 30-40%) หรือลองเอามีดขยำบีบดู ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตกออกจากกันและมือรู้สึกชื้นๆ ไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้ ถ้าแตกออกจากกันยังใช้ไม่ได้ต้องรดน้ำเพิ่ม
           3. หมักกองปุ๋ยหมักไว้  7 วัน ก็นำไปใช้ได้
           4. วิธีหมักทำได้ 2 วิธี คือ
                    4.1 เกลี่ยกองปู๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์หนาประมาณ 1-2วัน  คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อน ในวันที่2-3 ถ้าร้อนมากอาจจะต้องเอากระสอบที่คลุมออกแล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
                    4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่เข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ย ไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้ หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอกาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน จะได้ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วย จุลินทรีย์ และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกันกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะเป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลย แสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการกมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ต้องพอดี ประมาณ 30%  ปุ๋ยหมักชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม



วิธีใช้ 

     1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
    2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่นกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตงและฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกผักประมาณ 1 กำมือ
    3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยดศษหญ้าหรือใบไม้แห้ง ฟางและปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลีท่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 1.5 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งหรือฟาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือ
     4. ลักษณะของปุ๋ยหมักต่างๆ ตามระยะเวลาในการนำมาใช้ โดยแบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้
                    4.1ปุ๋ยหมักค้างปี  ใช้เศษพืชหมักอย่างเดียวนำมาหมักทิ้งไว้ค้างปีก็สารมารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักโดยไม่ต้องดูแลรักษา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการหมักนานประมาณ 1 ปี
                     4.2 ปุ๋ยหมักธรรมดา ใช้มูลสัตว์ ใช้เศษพืชและมูลสัตว์ในอัตรา 100:10 ถ้า เป็นเศษพืชชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลย แต่ถ้าเป็นเศษพืชส่วนใหญ่ๆ นำมากองเป็นชั้นๆ แต่ละกองจะทำประมาณ 3 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์แบบนี้ใช้ระยะเวลาหมักน้อยกว่าปุ๋ยหมักค้างปี เช่น ถ้าใช้ฟางข้าวจะใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือนในการหมัก
                        4.3 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่ง ใช้เวลาในการทำสั้นทำได้โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายของเศษพืชและมูลสัตว์ทำให้ได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้นนำไปใช้ได้ทันฤดูกาลโดยใช้สูตรดังนี้ เศษพืช 1000 กิโลกรัม  มูลสัตว์ 100 กิโลกรัม และเชื่อจุลินทรีย์ (น้ำหมักชีวภาพ) ตามความเหมาะสม ใช้เวลาหมักประมาณ 30-60 วัน มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการประหยัดในการซื้อเชื่อจุลินทรีย์

                        4.4 ปุ๋ยหมักต่อเชื้อ เป็นการนำปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่งจำนวน 100 กิโลกรัม นำไปต่อเชื้อการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักได้อีก 1000 กิโลกรัม(1 ตัน) การต่อเชื้อนี้สามารถทำการต่อได้เพียงอีก 3 ครั้ง ใช้เวลาการหมักประมาณ 30-60 วัน มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการประหยัดในการซื้อเชื่อจุลินทรีย์




     5. การพิจารณาในแง่ใช้ประโยชน์สูงสุดในการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพต้องพิจารณาจากลักษณะของการใส่ให้แก่พืชปลูก โดยแบ่งได้ 3 แบบดังนี้
                  5.1 ใส่แบบหว่านทั่วแปลงการใส่ปุ๋ยหมักแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีต่อการปรับปรุงบำรุงดิน เนื่องจากปุ๋ยหมักจะกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงปลูกพืชที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ส่วนมากจะใช้กับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ หรือพืชผัก แต่จะต้องใช้แรงงานในการใส่ปุ๋ยหมัก อัตราของปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ต่อปี
                      5.2 ใส่แบบเป็นแถว การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวตามแนวปลูกพืชมักใช้กับการปลูกพืชไร่ วิธีการใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวที่เหมาะสมที่จะใช้แบบโรยเป็นแถวสำหรับระบบการปลูกพืชไร ทั่วไป อัตราปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 3 ตันต่อไร่ต่อปี
                      5.3 ใส่แบบเป็นหลุม การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นหลุมมักจะใช้กับการปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้นโดยสามารถใส่ปุ๋ยหมักได้สองระยะคือ ในช่วงแรกของการเตรียมหลุมเพื่อการปลูก นำดินด้านบนของหลุมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักแล้วใส่รองก้นหลุม อีกระยะหนึ่งอาจจะใส่ปุ๋ยหมักในช่วงที่พืชเจริญแล้ว  โดยการขุดเป็นร่องรอบๆ ตันตามแนวทรงพุ่มของต้นพืช แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงในร่องแล้วกลบด้วยดิน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักประมาณ 20-50 กิโลกรัมต่อหลุม

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


2.1 หลักการและทฤษฎี
           “ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นเพื่อ ช่วยแก้ปัญหาและการกำจัดปริมาณขยะอย่างถูกต้อง เกิดประโยชน์ และเป็นแก้ปัญหาส่วนหนึ่งของการกำจักขยะที่เหมาะสมกับคนไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศทางการเกษตรกรรม จึงสามารถนำปุ๋มหมักมาใช้ในด้านการเกษตรได้ดี ด้วยการใช้ดูแล บำรุง รักษา  ปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ช่วยให้พืชผล ทางการเกษตร มีผลผลิตมากขึ้น และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานจากการนำขยะมาแปรรูปและทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีจำนวนมาก จึงเหมาะไม่มากก็น้อยสำหรับทางเลือกนี้ และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันได้อีกด้วย

2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อ
           “ ปุ๋ยชีวภาพ” (Bio-fertilizer) นั้นเป็นคำศัพท์ทางด้านปุ๋ยที่ใช้กันทั่วๆ ไปในหลักวิชาการปุ๋ยสากล โดยได้มีการบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า biological fertilizer ซึ่งเป็นการนำคำว่า ปุ๋ย” (fertilizer) หมายถึง ธาตุอาหารพืช กับคำว่า ชีวภาพ” (Biological) หมายถึง สิ่งที่มีชีวิต มาสมาสกัน ดังนั้นเจตนาที่บัญญัติคำนี้ จึงให้หมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชหรือเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์ตามคำจำกัดความนี้จะเห็นได้ว่าไม่ใช้จุลินทรีย์ทุกชนิดจะใช้ผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ แต่ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถสร้างธาตุอาหารขึ้นทางชีวภาพแล้วแบ่งให้พืชใช้ได้หรือมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะเจาะจงในการสร้างสารบางอย่างออกมา มีผลทำให้ช่วยเพิ่มปริมาณรูปที่เป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารหลักที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม